วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ผลงานสัปดาห์ที่ 2

โปรแกรมที่ 1
#include
#include
void main()
{
clrscr();
cout<<" Pornsuwan Sukklay \n";

cout<<" No.04 \n"; cout<<"--------------------------\n";
cout<<"Display Logic Operation:\a";
cout<<"\nLogic value of expression (3==5) :"<<(3==5);
cout<<"\nLogic value of expression (5==5) :"<<(5==5);
cout<<"\nLogic value of expression (3<=5) :"<<(3<=5);
cout<<"\nLogic value of expression (3>=5) :"<<(3>=5);
cout<<"\nLogic value of expression (3<=5)&&(5>3) :"<<(3<=5)&&(5>3);
cout<<"\nLogic value of expression (3<=5)&&(3>5) :"<<(3<=5)&&(3>5);c
out<<"\nLogic value of expression (3<=5)(3>5) :"<<(3<=5)(3>5);
cout<<"\nLogic value of expression (8<=5)(3>=5):"<<(8<=5)(3>=5);
cout<<"\n\nValue 1 is true, 0 is false...press any key"; getch(); }


โปรแกรมที่ 2
#include
#include
int A=50,B=30,C=5,D=3,E=10;
void main()
{
clrscr();
cout<<" Pornsuwan Sukklay \n";
cout<<" No.04 \n";
cout<<"--------------------------\n";
cout<<"1.1 (A+B)*(E-D) ="<<(A+B)*(E-D)<
cout<<"1.2 ++D+C*E ="<<++D+C*E<
cout<<"1.3 (25+A)/C+B ="<<(25+A)/C+B<
cout<<"1.4 (A*=D) ="<<(A*=D)<
cout<<"1.5 20*C+B+++D/2 ="<<20*c+b+++d/2<
cout<<"1.6 --D+C+B-- ="<<--D+C+B--<
cout<<"1.7 25*D/5+10 ="<<25*d/5+10<
cout<<"1.8 A+B--+D ="<
cout<<"1.9 C*2+E*5 ="<
cout<<"1.10 (A*2)+B/C-15="<<(A*2)+B/C-15<
getch();
}

โปรแกรมที่ 3
#include
#include
int A=20,B=30,C=2,D=5,E=50;
void main()
{
clrscr();
cout<<" Pornsuwan Sukklay \n";
cout<<" No.04 \n";
cout<<"--------------------------\n";
cout<<"\n3.1 ((A>=B)&&(A==A)) ="<<((A>=B)&&(A==A));
cout<<"\n3.2 ((B+C>A+D)((B+CA+D)((B+C
cout<<"\n3.3 ((A==20)&&(B>=30)) ="<<((A==20)&&(B>=30));
cout<<"\n3.4 ((50==E)(!D<=E)) ="<<((50==E)(!D<=E));
cout<<"\n3.5 !(D!=5) ="<
cout<<"\n3.6 ((B=C+20)!=50) ="<<((B=C+20)!=50);
cout<<"\n3.7 (C==(D-3)) ="<<(C==(D-3));
cout<<"\n3.8 ((A/C<=B)&&((C+D<=A)(D>A))) ="<<((A/C<=B)&&((C+D<=A)(D>A)));
cout<<"\n3.9 ((A%C+5)==(E/5-10)) ="<<((A%C+5)==(E/5-10));
cout<<"\n3.10 (A
getch();
}


วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

งาน IT 52 ภาคเรียนที่ 2/2552

งาน IT 52 ภาคเรียนที่ 2/2552

สัปดาห์ที่ 1
-สอบก่อนเรียน
-ออกไปอธิบายคำสั่ง FOR ในภาษาซีหน้าชั้นเรียน
-สร้างบล๊อกแต่ละรายวิชา
-ส่งชื่อบล๊อกของวิชาการโปรแกรมเชิงวัตถุ 1


สัปดาห์ที่ 2
-เรียน บทที่ 1 เรื่องแนะนำภาษา C++เบื้องต้น
-เขียนโปรแกรมในหนังสือ
-ทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1

สัปดาห์ที่ 3
-เรียน บทที่ 2 เรื่องการแสดงและการรับข้อมูล
-เขียนโปรแกรมในหนังสือ
-หาโจทย์คณิตศาสตร์ 10ข้อ
-ทำการวิเคราะห์งานจากโจทย์คณิดศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

งานสัปดาห์ที่ 12

ไข้หวัดใหญ่ 2009 หวัดสายพันธุ์ใหม่

สถานการณ์การแพร่ระบาดล่าสุด

องค์การอนามัยโลกได้ประกาศเตือนภัยการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ระดับ 5 หมายถึง มีการติดต่อของเชื้อไวรัสจากคนสู่คน และแพร่ระบาดไปอย่างน้อยสองประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก รายงานว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก ล่าสุดเพิ่มขึ้นเป็น 12,954 รายแล้ว ใน 46 ประเทศ และมีจำนวนผู้เสียชีวิต 92 ราย ขณะที่ในประเทศเม็กซิโก มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 85 ราย และมีผู้ติดเชื้อ 4,721 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2552)

รู้จักโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีชื่อเรียกในประเทศต่างๆ หลายชื่อ คือ ไข้หวัดเม็กซิโก, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอชวัน เอ็นวัน 2009, ไข้หวัดใหญ่จากสุกร (Swine Influenza) เป็นต้น เป็นไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ ตามปกติมีการระบาดในหมูเท่านั้น สามารถพบได้ทั้งในหมูเลี้ยง และหมูป่า ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ ทั้ง H1N1, H1N2 และ H3N2 แต่บางครั้งหมูอาจมีเชื้อไข้หวัดอยู่ในตัวมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งอาจทำให้เกิดการผสมกันของยีนได้ ทำให้เกิดเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่สามารถข้ามสายพันธุ์มาติดต่อยังมนุษย์ได้ เริ่มต้นจากการสัมผัสกับหมูที่เป็นโรค สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เริ่มแพร่ระบาดในประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ก่อนจะแพร่ระบาดไปหลายๆ ประเทศทั่วโลกนั้น เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ สายพันธุ์ เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของคน และไม่เคยพบมาก่อน เนื่องจากเป็นการผสมกันของสารพันธุกรรมไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์, ไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และไข้หวัดหมูที่พบในทวีปเอเชีย และยุโรป ทำให้องค์การอนามัยโลกต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 เนื่องจากหวั่นวิตกว่า เชื้อ H1N1 อาจจะกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ที่อันตรายยิ่งขึ้น

วิวัฒนาการไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

ก่อนที่ไข้หวัดหมูดั้งเดิมจะกลายพันธุ์เป็นไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 นั้น ไข้หวัดหมูสายพันธุ์ดั้งเดิม พบมาตั้งแต่ ค. ศ.1918-1919 ในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish Flu) ระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก จนมีผู้เสียชีวิตประมาณ 50 ล้านคน ส่วนใหญ่อายุ 20-40 ปี และตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป จากนั้นโรคไข้หวัดหมูได้แพร่ระบาดในช่วงต่างๆ ก่อให้เกิดโรคในคนอยู่มากกว่า 50 ราย โดยผู้ป่วย 61% มีประวัติสัมผัสหมู และมีอายุเฉลี่ย 24 ปี หลังจากนั้นใน ค.ศ.1974 ไข้หวัดหมูได้แพร่ระบาดในค่ายทหาร (Fort Dix) ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ มีผู้ป่วย 13 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยที่อีก 230 ราย ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการแต่น้อยมาก ทั้งหมดนี้ไม่มีประวัติสัมผัสหมู ซึ่งแสดงว่าน่าจะมีการพัฒนาจนมีการติดต่อจากคนสู่คน
ต่อมาใน ค.ศ.1988 หญิงตั้งครรภ์คนหนึ่งเสียชีวิตในรัฐวิสคอนซิน และมีประวัติสัมผัสหมู จึงเกิดการสงสัยว่าไข้หวัดหมูอาจไม่ใช่พันธุ์หมูล้วน (classic H1N1) จนกระทั่งปี ค.ศ.1998 จึงพิสูจน์พบว่า หมูที่เลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกา มีไวรัสไข้หวัดหมูกลายพันธุ์ โดยมีพันธุกรรมผสมระหว่างหมู คน และนก เกิดสายพันธุ์ผสม (Triple assortant virus) H3N2, H1N2, และ H1N1 (วารสารโรคติดเชื้อ JID 2008) และสายพันธุ์ผสมนี้ยังพบได้ในเอเชีย และแคนาดา
จากนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2008 ได้พบไข้หวัดหมูผสมสายพันธุ์ใหม่ (H1N1) ที่ประเทศสเปน จากหญิงอายุ 50 ปีที่ทำงานในฟาร์มหมู โดยมีอาการไข้ ไอ เหนื่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คันคอ คันตา และหนาวสั่น แต่อาการเหล่านี้หายไปได้เอง โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาใดๆ จึงไม่มีการคาดการณ์ว่า ไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่จะเป็นอันตรายมากนัก
จนกระทั่งล่าสุด เกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดหมู หรือที่มีการบัญญัติชื่อใหม่ว่า ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ลามไปทั่วโลก และมีการยืนยันอย่างแน่ชัดว่า โรคนี้สามารถแพร่กันระหว่างคนสู่คน เนื่องจากเชื้อโรคได้วิวัฒนาการอย่างสมบูรณ์แล้ว

การติดต่อโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

เชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีการติดต่อเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคนทั่วไป และเชื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยระยะฟักเชื้อของไข้หวัดใหญ่ 2009 นั้นอยู่ที่ประมาณ 3-7 วัน หากผู้ป่วยได้รับเชื้อมากระยะฟักตัวก็จะเร็ว ซึ่งทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยด้วยว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน
ทั้งนี้เชื้อโรคจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และสามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นด้วยการไอ หรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด รวมทั้งติดต่อกันทางลมหายใจ หากอยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และสามารถติดต่อได้จากมือ หรือสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ทั้งนี้เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา ซึ่งสามารถแพ้เชื้อได้ ตั้งแต่ผู้ติดเชื้อยังไม่ปรากฎอาการ หรือหลังจากปรากฎอาการไข้แล้ว ขณะที่นักวิชาการขององค์การอนามัยโลก ระบุไว้ว่า โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีอัตราการแพร่ระบาดมากกว่าโรคซาร์ส และไข้หวัดนก แต่อัตราการเสียชีวิตมีน้อยกว่า คืออยู่ที่ร้อยละ 5-7 ขณะที่โรคไข้หวัดนกมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

เมื่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 เข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนจะปรากฎอาการที่คล้ายกับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดา แต่มีอาการรุนแรงกว่าและรวดเร็วกว่า นั่นคือ มีไข้สูงราว 38 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ ไอ มีน้ำมูก มีเสมหะ ปอดบวม เบื่่ออาหาร บางรายอาจท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน จากนั้นเชื้อจะแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต จึงทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีการทรงตัวผิดปกติ เดินเอนไปเอนมาเหมือนคนเมาสุรา นอกจากนี้อาจสูญเสียการได้ยินจนถึงขั้นหูหนวกได้ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ระยะติดต่อ

ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ ห้าวันหลังจากมีอาการ ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้ นาน 10 วัน

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคปอดอักเสบตามมา รวมถึงหัวใจวาย และอาจจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งโรคแทรกซ้อนนี้สามารถคร่าชีวิตได้ หากผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และติดยาเสพติด เป็นต้น

ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์เมื่อไร

ผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ หรือมีประวัติสัมผัสกับผู้ที่ต้องสงสัยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 แล้วพบว่าตัวเองมีไข้สูง 38.5 องศา มีไข้นานเกิน 7 วัน เจ็บหน้าอก ปวดท้อง อาเจียน มีจุดเลือดตามตัว ตาเหลือง เจ็บคอมาก มีเสมหะสีเขียวๆ เหลืองๆ ผิวสีม่วง หรือได้พยายามรักษาตัวเองแล้ว แต่ยังไม่หาย ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ด้วยวิธี PCR ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้สามารถหาเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ได้ภายใน 24 ชั่วโมง และควรเข้ารับการตรวจรักษาภายในห้องตรวจพิเศษ Negative Pressure เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อไวรัสต่อไปยังผู้อื่น

การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

องค์การอนามัยโลก ระบุว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ยังไม่สามารถป้องกัน และรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้ได้ แต่จากผลการทดสอบในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ คือ
1. "โอเซลทามิเวียร์" (ชื่อทางการค้าว่า ทามิฟลู) เป็นยาที่สามารถใช้ได้ตั้งแต่เด็กอ่อนถึงผู้ใหญ่ มีตัวยาทั้งที่เป็นเม็ดและเป็นน้ำ แต่มีผลข้างเคียง ที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนั้นในเด็กอาจมีอาการปวดท้อง เลือดกำเดาออก ปัญหาเรื่องหู และโรคตาแดง
2."ซานามิเวียร์" (ชื่อทางการค้าว่า รีเลนซา) เป็นยาที่ใช้ได้เฉพาะในผู้ป่วยอายุมากกว่า 5 ปี และไม่แนะนำให้ใช้ในคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหืด หรือผู้ป่วยในสถานพยาบาล และผู้ที่มีอาการแพ้สารแลคโตส ตัวยามีลักษณะเป็นเบบชนิดพ่นเท่านั้น ผลข้างเคียงของยานี้คือ เพิ่มความเสี่ยงของอาการหายใจลำบาก ในเด็กวัยเล็กและวัยรุ่น อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากอาการชัก อาการสับสน ความประพฤติผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากไข้หวัดใหญ่ในระยะแรก
ทั้งนี้ ยาทั้งสองชนิด สามารถป้องกันเชื้อไวรัสไม่ให้แตกตัว แต่ต้องรับยาภายใน 48 ชั่วโมง เพราะมีโอกาสที่เชื้อไวรัสจะกลายพันธุ์ได้อีกในอนาคต อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกกำลังเร่งผลิตวัคซีนเพื่อป้องกัน และรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้อยู่ ซึ่งยังคงต้องใช้เวลา อย่างน้อย 5-6 เดือน เพื่อให้ได้วัคซีนที่ใช้รักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งวิธีการป้องกันการติดต่อของโรคได้ดีที่สุด คือ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด และล้างมือบ่อยๆ รวมทั้งผู้ที่ป่วยเป็นหวัด ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันโอกาสการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่จะเข้าไปผสมกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลในตัวผู้ป่วย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเชื้อใหม่ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ดื้อยาเพิ่มขึ้น และแพร่ระบาดจากคนสู่คนมากขึ้นต่อไป
นอกจากนี้หากใครที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และมีไข้สูง ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อจะได้เฝ้าระวังและรักษาได้ทัน

วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่

วัคซีนสำหรับรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ อาจไม่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ แต่ก็ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ที่จะเกิดขึ้นตามฤดูกาลได้ ซึ่งอาจจะช่วยป้องกันไม่ให้ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ผสมกับไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ จนกลายพันธุ์เป็นพันธุ์ที่รุนแรงมากกว่าเดิม
ทั้งนี้วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนชนิดฉีด และเป็นวัคซีนเชื้อตาย จำนวน 3 สายพันธุ์ คือ ชนิดเอ 2 สายพันธุ์ และชนิดบี 1 สายพันธุ์ ทุกปีจะมีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขึ้นมาใหม่ โดยองค์กรอนามัยโลกจะคาดเดาว่า ในปีนั้นจะมีเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใดระบาด และแยกผลิตเป็นสองสูตร สำหรับประเทศในซีกโลกเหนือ และประเทศในซีกโลกใต้
วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่นี้ สามารถฉีดได้ในเด็ก ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 9 ปี หากไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนในปีแรก ให้ฉีด 2 เข็ม โดยห่างกัน 1 เดือน จากนั้นให้ฉีด 1 เข็ม ในแต่ละปี หากเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ให้ฉีดวัคซีนปีละครั้ง
โดยทั่วไปการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันโรคได้ร้อยละ 60-90 หรือหากเป็นขึ้นมา อาการของโรคก็จะไม่รุนแรงนัก ทั้งนี้หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว อาจมีอาการปวดบวมแดงเฉพาะที่ หรืออาจมีไข้หรือปวดเมื่อยตามตัว นาน 1-2 วัน
แม้ว่าโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อไม่มากนัก และผู้ติดเชื้อในประเทศไทยจะได้รับการรักษาจนหายแล้วก็ตาม แต่อย่างไรเราก็ควรต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อสามารถเตรียมการป้องกัน และเฝ้าระวังได้อย่างถูกต้อง ซึ่งวิธีการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ดีที่สุด ก็คือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อกำจัดเชื้อโรคออกไปนั่นเอง

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

งานสัปดาห์ที่ 4

ประวัติภาษาซี

ภาษาซีเป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริดชี (Dennis ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell laboratories) ที่เมอร์รีฮิล มลรัฐนิวเจอร์ซี่ โดยเดนนิสได้ใช้หลักการของภาษาบีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเคน ทอมสัน (Ken tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์ และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B) ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์ ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์

ภาษาซีเป็นภาษาที่มีลักษณะเด่นพอสรุปได้ดังนี้

- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาขึ้นใช้งานเพื่อเป็นภาษามาตรฐานที่ไม่ขึ้นกับโปรแกรมจัดระบบงานและไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์
- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักการที่เรียกว่า "โปรแกรมโครงสร้าง" จึงเป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมระบบ
- เป็นคอมไพเลอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ให้รหัสออบเจ็กต์สั้น ทำงานได้รวดเร็ว เหมาะกับงานที่ต้องการ ความรวดเร็วเป็นสำคัญ
- มีความคล่องตัวคล้ายภาษาแอสแซมบลี ภาษาซีสามารถเขียนแทนภาษาแอสแซมบลีได้ดี ค้นหาที่ผิดหรือ แก้โปรแกรมได้ง่าย ภาษาซีจึงเป็นภาษาระดับสูงที่ทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ
- มีความคล่องตัวที่จะประยุกต์เข้ากับงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การพัฒนาโปรแกรม เช่น เวิร์ดโพรเซสซิ่ง สเปรดชีต ดาตาเบส ฯลฯ มักใช้ภาษาซีเป็นภาษาสำหรับการพัฒนา
- เป็นภาษาที่มีอยู่บนเกือบทุกโปรแกรมจัดระบบงาน มีในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 8 บิต ไปจนถึง 32 บิต เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม
- เป็นภาษาที่รวมข้อดีเด่นในเรื่องการพัฒนา จนทำให้ป็นภาษาที่มีผู้สนใจมากมายที่จะเรียนรู้หลักการของภาษา และวิธีการเขียนโปรแกรม ตลอดจนการพัฒนางานบนภาษานี้

Code โปรแกรมแสดงประวัติ

#include
#include
main()
{
clrscr();
cout<<"My name is Miss. Pornsuwan Sukklay \n";
cout<<"Nick name Beau \n";cout<<"age 18 year old\n";
cout<<"Address 71/2 M.6 T.Bangkantak A.Mueng Samutsongkram 75000\n";
cout<<"Institute Samutsongkhram Technical College\n";
cout<<"Section Information Technorogy\n";
cout<<"Father Name\n";
cout<<"Suchin Sukklay\n";
cout<<"Mother Name\n";
cout<<"Thonglor Sukklay\n";
cout<<"Weight 40 kg.\n";
cout<<"High 163 cm.\n";
getch();
return 0;
}

งาน IT 52

สัปดาห์ที่ 1
- เขียนประวัติส่วนตัว
- เขียนว่าทำไมถึงอยากมาเรียนแผนกสารสนเทศ

สัปดาห์ที่ 2
- เขียนโปรแกรมชีวิต
- เขียนโปรแกรมท่องเที่ยว
- ทำงานใบงานที่ 1

สัปดาห์ที่ 3
- ให้นำเมลล์ไปใส่ใน Blog ของอาจารย์
- ตรวจงานที่ทำในสัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์ที่ 4
- หาประวัติภาษาซี จุดเด่น จุดด้อย
- ยกตัวอย่างโปรแกรมแสดงประวัติตัวเอง